วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เต่าดมแก๊ส อยากใส่บ่าวาล์วสเตนเลสได้ไหม

ขอสอบถามว่า มี VW BEETEL ปี 1959 ตาหวาน ต้องการจะติดแก๊สLPG อยากถามว่า จำเป็นต้องทำบ่าวาล์วใหม่เป็นสเตนเลสหรือเปล่า
            คำถามนี้จาก “เรืองริด” หรือ “ฟิลมอร์ ออแกนิกส์” เพื่อนรักฝ่ายอาร์ตที่ออฟฟิศ ผมเอง กับ “ตาเฉิ่ม” จากการถามไถ่กันตามประสบกาม เอ๊ย ประสบการณ์จริง เห็นคำถามนี้น่าสนใจดีเลยเอามาลง เผื่อแฟน ๆ VW อาจจะนำไปพิจารณาได้ สำหรับรถรุ่นเก่า ๆ พวกนี้บ่าวาล์ว
ยังไม่ค่อยจะแข็งแรงมากนัก ประการแรก สมัยนั้น เรื่องโลหะยังดีสู้สมัยนี้ไม่ได้ ประการที่สอง รถมีอายุมากกว่า 40 ปี อะไร ๆ ก็เสื่อมไปตามกาลเวลาแน่นอน นะมายเฟรนด์ คิดดูตามความจริง วาล์วกระแทกบ่าขึ้นลงไม่รู้กี่ล้านเที่ยว มันก็ย่อมมีการสึกเป็นธรรมดา...
            แล้วจะรู้ได้ไงว่าบ่าวาล์วสึกจนใช้ไม่ได้ อันดับแรก เครื่องเดินไม่ดี สั่น กระพือ ไม่มีแรง ความร้อนขึ้นแต่ VW ไม่มีหม้อน้ำ เพราะมันเป็น “แอร์คูล” ถ้ามีเกจ์ วัด Oil Temp ก็จะรู้ น้ำมันเครื่องจะร้อนขึ้นผิดปกติ ไปบ้าง ประกอบกับมีอาการ “จาม” แบบกำลังอัดรั่ว ถ้าวัดกำลังอัดแล้วต่ำผิดปกติด้วย ก็ต้องเปิดฝาสูบดูแล้วว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ถ้าเกิดจากเรื่องบ่าวาล์ว ทรุดจริง ๆ ก็ต้องเสริมใหม่เป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงใด ๆ ก็ตาม...
            ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ติดLPG ก็น่าจะมาจาก “ความร้อนในห้องเผาไหม้ที่เพิ่มขึ้น “ เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันเบนซิน มันก็ไม่ได้มากมายอะไรจนน่ากลัวหรอก ไม่งั้นเครื่องคงระเบิดไปแล้ว พอความร้อนมากขึ้น วาล์วร้อน อะไรร้อนมาก ๆ ก็สึกหรอเร็วเป็นธรรมดา ยิ่งรถสมัยก่อนก็ไม่ได้ทำเผื่อบ่าวาล์วแข็งแรงมาก เพราะยังใช้ “น้มันมีสารตะกั่ว” (Leaded Fuel) คอยเคลือบบ่าวาล์วอยู่...
            แต่รถสมัยใหม่ ที่ใช้น้ำมัน “ไร้สารตะกั่ว” (Unleaded Fuel) ก็เลยต้องเผื่อมาจากโรงงาน ตอนนี้การจะ ติดLPG ให้ปลอดภัย  ผมว่า “อยู่ที่ส่วนผสมว่า ถูกต้องหรือไม่” ถ้าส่วนผสมผิด เกิดอาการ “ส่วนผสมบาง” (Lean Burn) ทำให้ความร้อนห้องเผาไหม้สูงผิดปกติ หรือ จังหวะจุดระเบิดผิด” (Miss Firing) ก็ทำให้ เกิดการจุดระเบิดที่ไม่สมบูรณ์ก็ทำให้เครื่องยนต์เสื่อม สภาพเร็ว แนะนำว่า ถ้าเครื่องไม่เป็นไร ก็ติด LPG ไปแล้วจูนให้ถูกต้อง ถ้าเครื่องเริ่มโทรม มีโครงการจะรื้อมาทำใหม่อยู่แล้ว ก็เปลี่ยนบ่าวาล์วไปทีเดียวเลย จะได้ไม่ต้องเสียค่าแรงสองทีตอนมันพัง แล้วค่อยมาติดแก๊สทีหลัง แต่ถ้าขี้เกียจ ก็ไม่ต้องติด ถ้าติดก็ต้องดูต้องสังเกตุ จ้า จะใช้งานก็ต้องดูแลกันหน่อย

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำมันเครื่องสำหรับรถใช้แก๊ส NGV

น้ำมันเครื่องสำหรับรถติด NGV ดีจริงไหม
หลายคนอาจสงสัยว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเราควรใช้น้ำมันเครื่องสำหรับแก๊ส NGV ดีไหม คำตอบมีที่นี่แล้ว
ตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้แก๊สรถยนต์ จะไม่สามารถเติมสารเพิ่มคุณภาพเหมือนกับน้ำมันที่เป็นของเหลวได้ อีกทั้งยังมีสภาพแห้ง และจุดที่เครื่องยนต์จะเสื่อมสภาพเร็วที่สุด ก็ในช่วงที่เริ่มสตาร์ท น้ำมันเครื่องยังไม่ขึ้นมาหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ใช้แก๊สจึงมีความเสี่ยงมากกว่าอุณหภูมิก๊าซไอเสีย
            เครื่องยนต์ที่ติดตั้งแก๊สเป็นเชื้อเพลิงจะมีอุณหภูมิของก๊าซไอ้เสียสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลมาก ซึ่งเครื่องยนต์ ดีเซลจะมีอุณหภูมิของก๊าซไอเสียอยู่ที่ประมาณ 600 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์เบนซินประมาณ 700 องศาเซลเซียส ส่วนเครื่องยนต์แก๊สจะสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำมันเครื่องปกติที่ใช้มีอายุสั้น  เนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกิดออกซิเดชั่น และไนเตรชั่นสูง โดยหลักจึงพยายามผลิตน้ำมันเครื่องที่ทนอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลกับอายุของน้ำมันเครื่องที่ยาวขึ้นนั่นเอง ผลสรุปคือ หากรถเราติดแก๊ส เราควรใช้น้ำมันเครื่องสำหรับ การใช้แก๊สเพื่อให้สามารถทนกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ และจะให้ดีควรเปลี่ยนให้บ่อยกว่าเดิม

ติดแก๊สแล้ว “วาล์วแห้ง” หรือเปล่า???

รบกวนพี่ ๆ ทีมงานหน่อยครับ คือ ผมได้ยินมาว่า รถที่ติดแก๊สจะทำให้ “วาล์วแห้ง” จริงหรือเปล่า แล้วถ้าจริง มันมีผลอะไรต่อเครื่องยนต์บ้าง ขอบคุณนะครับ...

เอ้า ขอมาก็จัดไป โดยปกติแก๊สรถยนต์ หรือก๊าซจะไม่เหมือนน้ำมันที่อยู่ในสภาวะ “ของเหลว” เวลาน้ำมันถูกจ่าย ก็จะวิ่งไปโดนวาล์ว ของเหลวก็จะช่วยลดความร้อนลงได้ บางส่วน ซึ่งการใช้แก๊ส จะทำให้ห้องเผาไหม้ร้อนกว่าน้ำมันอยู่บ้าง เน้นว่า “อยู่บ้าง” ไม่ใช่โหดร้ายขนาดหนัก แต่ส่วนใหญ่ที่เจอพวกติดแก๊สแล้ว “พังง่าย” คงโทษที่แก๊สไม่ได้เพียงอย่างเดียว สาเหตุหลักของเคสนี้ก็คือ “ปรับส่วนผสมของแก๊สและจังหวะจุดระเบียดไม่ถูกต้อง” ที่เจอบ่อยคือ “แก๊สบาง” อาจจะเป็นเพราะจูนไม่เป็น หรือเน้นความประหยัดสุด ๆ แบบที่ TAXI นิยมกัน ก็ทำให้ห้องเผาไหม้ร้อนกว่าปกติ บ่าวาล์วก็ร้อนจัด ตัววาล์วก็ร้อนจัด ไม่ต้องแก๊สหรอกครับ ต่อให้น้ำมันนี่แหละ แต่จูนผิด มันก็ไม่เหลือ โดยเฉพาะพวกรถที่มีอาการ “จาม” หรือ “แบ็ก” แรงระเบิดย้อนออกทางไอดีบ่อย ๆ แสดงว่าส่วนผสมและไฟจุดระเบิดผิดอย่างแรง สรุปแล้ว “บรรลัยไว” แน่นอน...
            ส่วนใหญ่แล้ว การจูนแก๊สที่ผิดพลาด และ มีการเสียหายหรือสึกหรอเร็วผิดปกติ มักจะเจอกับระบบแก๊สยุคเก่า คือ แบบ Mixer ที่ไม่มีอะไรเป็นตัวช่วยเหลือหรือชดเชยใด ๆทั้งสิ้น มันก็มี Ventury อยู่ตัวนึง เป็นทรงกรวย มีรูจ่ายแก๊ส กลึงกันหยาบ โคตร ๆ มีแค่นี้จริง ๆ คาร์บูเรเตอร์ทั่วไปว่าธรรมดาแล้ว ยังมีอุปกรณ์มากกว่าตั้งเยอะ พวกนี้เป็นการจูนอัพแบบ “หยาบที่สุด” ปรับวาล์วกลางสาย ลองเร่ง ๆ ดู เบาไม่ดับ เร่งพอได้ก็เอาแล้ว มันจึงมี “ค่าส่วนผสมที่ไม่แน่นอน” เอาเสียเลย บางไป หนาไป ไม่รู้ เอาความรู้สึก วิ่งไปได้ ดีไม่ดีก็เรื่องของเอ็ง มันถึงไม่มีความเสถียร โอกาสที่ส่วนผสม “ผิดพลาด” จนทำให้เครื่องสึกหรอและเสียหายเร็วก็มีเยอะ แถมอัตตาสิ้นเปลืองก็สูง จูนยังก็ไม่เสถียรปัจจุบันจึงไม่นิยมใช้กันแล้ว...
            ปัจจุบันจึงมีแก๊สระบบ “หัวฉีด” เข้ามาแต่   ฉีดเบนซิน”  มีกล่อง ECU ส่วน Sensor ต่าง ๆ ก็ใช้ของเดิมติดรถ ข้อมูลกล่องแก๊ส มันก็  Learning หรือ “ลอกการบ้าน” จากข้อมูลกล่อง ECU เดิม มันจึงได้ค่าที่ “ใกล้เคียง” ที่สุด แล้วก็มาปรับเอาโดน “จูนเนอร์” (ชื่อโคตรเท่เลย) ถ้าจูนแก๊สได้ส่วนผสมที่ “ถูกต้องไม่มีอาการจามหรือแบ็ก ส่วนผสมไม่หนาหรือบางเกินไป จะทำให้เครื่องมีความทนทน อย่างน้อยก็ดีกว่าส่วนผสมมั่ว ๆ แบบสมัยก่อนเยอะครับ...
            ถ้าถามถึงความ “ทนทาน” สังเกตได้ว่า รถยุคปัจจุบันแม้ติดแก๊สมาหลายปี วิ่งไปเป็นแสนกม. บางคันยังสบายดีอยู่ ยอมรับครับ ว่าถ้าใช้งานเงื่อนไขเดียวกัน “น้ำมันจะทนทานกว่า” แต่แก๊สก็ “ไม่ได้ทำให้พังในทันที”  อายุการใช้งานอาจจะสั้นลงไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับหายไปเกินครึ่ง ถ้าลองคิดค่าซ่อมกับค่าส่วนต่างระหว่างแก๊สกับน้ำมันดูแล้ว ก็อาจจะคุ้มก็ได้ ยกตัวอย่าง สมมติ “น้าเสี้ยม ริมหาด” ใช้รถไปทำงาน เดินทางไปต่างจังหวัด วันละ 100 กม. ถ้าใช้น้ำมันเบนซิน คิดง่าย ๆ ลิตรละ 40 บาท รถมีอัตราสิ้นเปลือง 10 กม./ลิตร เท่ากับค่าใช้จ่าย “กม.ละ 4 บาท เติมน้ำมันวันละ 400 บาท แต่ถ้าติดแก๊ส LPG ลิตรละ 13 บาท หายไป “สามเท่า” ก็เท่ากับเติมแก๊สวันละ 100 กว่าบาท เท่านั้น (คิดเผื่อหน่อย เพราะอัตราสิ้นเปลืองของแก๊สจะมากกว่าน้ำมัน) ไอ้ส่วนต่างถ้าคิดเป็น “ต่อปี” ก็ “หลายหมื่น” เหมือนกันนะ ยี่งใช้รถเยอะ ๆ ประเภทเคยใช้น้ำมันเดือนละหมื่นกว่าบาท ต่อปี เผลอ ๆ ประหยัด “เป็นแสน” เอาเงินส่วนต่างไปรอซ่อมเครื่องก็ยังคุ้ม ยิ่งใช้ยาวก็ยิ่งคุ้ม มันคงไม่ปีเดียวพังหรอกครับ..
            แต่ถ้า “วิตก” อยู่ในใจ ก็ลองสลับมาใช้น้ำมันบ้างก็ได้ครับ อย่างเวลาจะจอด บางคนก็เปลี่ยนกลับมาใช้น้ำมันก่อนจะดับเครื่อง หรือตอนวิ่งทางไกล ก็สลับมาใช้น้ำมันบ้าง เพื่อให้น้ำมันลดความร้อนที่วาล์ว อันนี้มันอยู่ที่ “ความรู้สึกส่วนตัว” นะครับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แล้วแต่ใจท่านหรือบางคนก็ติดตั้งถังเติม “ออโต้ลูบ” ที่ใช้กับ “แมงกะบื่อ” สองจังหวะ เพื่อเอาละลองออโต้ลูบไปหล่อลื่นวาล์ว แต่ต้องระวังนะครับ ถ้าปล่อยเข้ามากไป “ควันกลบ” แน่นอน มันจะกลายเป็นเขม่า ทำให้เผาไหม้แย่ มลพิษมาก ห้องเผาไหม้และหัวเทียนสกปรก จะยิ่งแย่ไปกันใหญ่ (ส่วนตัวผมเอาออกเลยนะครับ) แล้วก็ “หัวเทียน” ด้วย ควรเปลี่ยนเบอร์หัวเทียนที่ “เย็นลง” เช่น ของเดิมเบอร์ 5 ก็ใช้เบอร์ 6 หัวเทียนดี ๆ หน่อย จะได้ระบายความ
คิดว่าวันนี้ตอบแค่นี้พอก่อนให้ลองไปคิดกันดูอีกที  ติดแก๊ส หรือไม่อย่างไร

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องเตือนแก๊สรถยนต์รั่ว และสั่งตัดอัตโนมัติ


นวัตกรรมเตือนแก๊สรถยนต์รั่วและสั่งดับแก๊สอัตโนมัติ กันไฟไหม้

                เครื่องเตือนภัยแก๊ส  LPG  รั่วสำหรับรถติดแก๊ส lpg   และป้องกันการขาดอากาศในรถยนต์  เป็นสุดยอดนวัตกรรม  ฝีมือนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  การันตีคุณภาพด้วยรางวัลทรงคุณวุฒิ  ประเภทที่  จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำปี  2550  ของสำนักงานคระกรรมการอาชีวศึกษา  และคว้ารางวัลเกียรติยศ  ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดของ ปตท. ในโครงการ ปตท. ร่วมสานฝันนักประดิษฐ์ใช้พลังงานอย่างยั่งยืนมาแล้ว
                สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากความร่วมมือระหว่างนักศึกษาแผนกช่างยนต์กับแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์  ของวิทยาเทคนิคกาญจนบุรี  สมาชิกในทีมมีด้วยกัน  คน  เป็นนักศึกษาช่างยนต์  ปวส. จำนวน  คน  ได้แก่  นายเทพรัตน์  นิลแสง  นายวิวัฒน์  ชัยรัตน์  นายเจนเจริญ  ถิรวิทวัส  โสภณ  นายสรวุฒิ  นิลกุล  และนักศึกษาช่างอิเล็กทรอนิกส์  ปวส. คือ นายสิทธิพงษ์  ศิริน้อย 
                พวกเราเล็งเห็นถึงกระแสเรื่องพลังงานทดแทนที่กำลังมาแรงกอปรกับผมเองก็เป็นช่างยนต์ทำงานอยู่กับสถานประกอบการก็ได้เห็นรถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีกันเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบางคันติดตั้งแบบไม่ได้มาตรฐาน หรือ เมื่อมีการใช้งานนานเกิดความเสื่อมของอุปกรณ์   อาจทำให้เกิดปัญหาไฟลุกไหม้ได้  ทีมของเราจึงมีแนวคิดที่จะสร้างอุปกรณ์ที่จะทำให้กับผู้ใช้รถติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีมีความมั่นใจในการใช้งาน  นายเทพรัตน์นิลแสง  เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงความเป็นมาของโครงงาน
                หลังจากใช้เวลานานนับเดือน  ผ่านการลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้ง  โดยมีอาจารย์วัลลภ  มากมี  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ  คอยให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ พวกเขาก็สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีใครคิดค้นขึ้นมาก่อนเป็นผลสำเร็จ
                สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ประกอบด้วยหน่วยควบคุมซึ่งจะอยู่ในห้องโดยสาร  ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์  ชุด  เซ็นเซอร์ตัวที่หนึ่งจะติดตั้งไว้ภายในห้องเครื่องยนต์  ส่วนตัวที่สองจะติดตั้งไว้ใกล้ ๆ ถังบรรจุแก๊สด้านฝากระโปรงหลัง  ส่วนถังดับเพลิงจะติดตั้งอยู่ภายในห้องโดยสารบริเวณด้านหน้าที่นั่งผู้โดยสาร
                การทำงานของระบบเตือนภัยแก๊สแอลพีจีรั่วเพื่อป้องกันไฟไหม้รถยนต์จะทำงาน  ระดับ  ระดับที่หนึ่ง  “low”  เป็นการเตือนภัยด้วยเสียเมื่อตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่าโมเลกุลของแก๊สที่รั่วออกมามากกว่า  1,000  พีพีเอ็ม  ซึ่งเซนเซอร์จะสามารถจับได้  ภายในระยะเวลาไม่เกิน  30  วินาที  และโชว์เป็นไฟ  LED  ขึ้นที่บริเวณหน้าปัดพร้อมเสียงเตือน
                ในระดับที่  หรือ  medium  จะเป็นการป้องกันภัยด้วยการตัดระบบแก๊สด้วยการสั่งปิดวาล์วโซลินนอยด์ไม่ให้ส่งแก๊สไปยังห้องเครื่องยนต์เพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้  ซึ่งการทำงานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเซนเซอร์จับได้ว่ามีโมเลกุลของแก๊สมากกว่า  3,000  พีพีเอ็มขึ้นไป
                และถ้ามีความเข้มข้นของแก๊สถึงระดับ  6,000  พีพีเอ็ม  ก็จะเป็นการทำงานในระดับที่  คือ  high  โดยระบบจะสั่งงานให้มีการฉีดพ่นสารดับเพลิงไปยังจุดที่แก๊สรั่วไหลภายในห้องเครื่องยนต์หรือจุดที่ติดตั้งถังบรรจุแก๊สทันที  เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้ใช้รถและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวรถอย่างรวดเร็วทันการณ์
                อุปกรณ์ชิ้นเดียวกันนี้ยังช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถยนต์ที่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เนื่องจากได้รับแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ได้อีกด้วย  โดยมีตัวเซ็นเซอร์ที่คิดค้นขึ้นมาโดยเฉพาะ  ติดตั้งไว้ในกล่องเดียวกันกับระบบเตือนแก๊สแอลพีจีรั่ว  มีการเตือน  ระดับเช่นกัน  คือ  low, medium  เซ็ทให้มีเสียงเตือนพร้อมกับมีไฟโชว์  เพื่อให้ทราบว่าก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ได้เข้ามาในห้องโดยสารในปริมาณที่เป็นอันตรายแล้ว  และถ้าเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่ามีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เพิ่มปริมาณจนถึงระดับที่  หรือ  high  กล่องควบคุมจะสั่งงานให้ดับเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ  ผ่านทางลีเลย์ให้ไปตัดระบบไฟเพื่อดับเครื่องยนต์  เนื่องจากในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ โดยอนาคตอาจเป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อความปลอดภัยในการติตตั้งแก๊สรถยนต์ ซึ่งบางอู่ขณะนี้ได้มีการเริ่ม นำเสนอต่อลูกค้าบ้างแล้ว 
                ผลงานแห่งความภาคภูมิใจในครั้งนี้  ได้รับการสนับสนุนจากคุณสุวิชช์  โรหิตรัตนะ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  และอาจารย์วัลลภ  มากมี  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการซึ่งมีประสบการณ์สูงในแวดวงนักประดิษฐ์ได้ในอนาคตสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถนำมาต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์ได้  และเชื่อว่าคงขายดี

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การดูแลรักษารถยนต์หลังจากมีการติดตั้งแก๊ส


เปลี่ยนมาใช้แก๊ส  LPG/NGV  การดูแลรักษาก็ต้องเปลี่ยน
                ด้วยสภาวะน้ำมันแพง ผู้ใช้รถยนต์ได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  สาเหตุใหญ่ ๆ มาจากน้ำมันที่มีราคาแพงมากขึ้น  และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาติดตั้งแก๊ส  เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า  การติดตั้งมีทั้งแบบหัวฉีด  (sequential injection)  และระบบดูด  (mixer)  ขึ้นอยู่กับงบประมาณ  และวิธีการติดตั้งของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ  แต่ละรุ่น  เมื่อได้มีการนำรถยนต์ไปติดตั้งแก๊สแล้วก็หมายความว่าท่านเจ้าของรถยนต์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันมาเป็นแก๊สเรียบร้อยแล้ว
                รถยนต์ที่ซื้อมาส่วนใหญ่ และปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการออกแบบและคัดสรรวัสดุอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้มีความเหมาะสมในการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งค่าความร้อนในการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของน้ำมันจะมีอุณหภูมิจุดระเบิดต่ำกว่าแก๊สประมาณ  2 – 3  เท่า  ดังนั้น  เมื่อเจ้าของรถยอมรับการเปลี่ยนแปลง  หันมาใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง  สิ่งที่จะตามมาก็คือ  ท่านจะต้องดูแลรักษาเครื่องยนต์มากกว่าตอนใช้น้ำมันเป็นพิเศษ ซึ่งเรามีคำแนะนำจาก ช่างผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับรถใช้แก๊สมาฝากดังนี้ 
                1.    บำรุงรักษา หมั่นตรวจเช็คชุดอุปกรณ์แก๊สให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ โดยประมาณ 3 เดือนครั้ง  เพราะรถยนต์มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา  เมื่อผู้ใช้รถขับขี่ก็มีโอกาสทำให้อุปกรณ์แก๊สส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเคลื่อนตัว  ผู้ใช้รถจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ชุดติดตั้งแก๊สอยู่เสมอ  ถ้าพบว่าอุปกรณ์ส่วนหนึ่งส่วนใดผิดปกติหรือชำรุดเสียหาย  ควรรีบให้ช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ซ่อมแซมแก้ไขโดยด่วน 
                2.    ปรับแก้ระบบระบายความร้อน จะต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น   เช่น  พัดลมไฟฟ้าต้องปรับแต่งให้มีความเร็วรอบสูงกว่าเดิม  หรือขยายขนาดใบพัดให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม  เพื่อจะได้นำพาความร้อนออกจากเครื่องยนต์ได้เร็วขึ้น  วาล์วในหม้อน้ำต้องเปิดให้เร็วกว่าเดิม  ต้องหมั่นตรวจเช็คน้ำในหม้อน้ำอยู่เสมอ  อย่าปล่อยให้ขาด  หรือยุบ  รวมถึงต้องใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำ  เพื่อช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำ  ทั้งยังช่วยหล่อลื่นปั๊มน้ำ  ป้องกันการเกิดฟอง  ป้องกันการเกิดตะกรันตะกอนและป้องกันสนิม
                น้ำยาหม้อน้ำที่ดีสำหรับรถติดแก๊สนั้นต้องเป็นน้ำยาหม้อน้ำแท้ ๆ 100% ถึงจะช่วยเพิ่มจุดเดือดได้  วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำยาหม้อน้ำในปัจจุบันจะใช้  based ethylene glycol  ประมาณ  94%  ขึ้นไป  ส่วนที่เหลือจะเป็น  additive
                ข้อสังเกตในการเลือกซื้อเบื้องต้น  ขอแนะนำให้อ่านฉลาก  ต้องมีคำว่า  ethylene glycol  ข้อสังเกตต่อไป  ถ้าเป็น  ethylene glycol  เมื่อมีการสัมผัสถูกผิวหนังจะเกิดความร้อนและมีความลื่นที่ผิวหนัง  (เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด)  แต่ถ้าเป็นน้ำยาหม้อน้ำที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวจะไม่สามารถช่วยเพิ่มจุดเดือดได้  แต่อาจช่วยได้บางเรื่อง  เช่น  ป้องกันสนิม  ป้องกันการเกิดตะกอน  และป้องกันการเกิดฟอง  เป็นต้น
รถยนต์บางชนิด เช่น โตโยต้า fortuner หรือ Pajero Sport ได้รับการยอมรับในวงการแก๊สรถยนต์ว่า สามารถติดตั้งแก๊สได้โดยมีปัญหาในการใช้งานน้อยมาก ระบบเครื่องยนต์รองรับการทำงานแบบสองเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี นี้คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ท่านควรเลือก เมื่อคิดจะติดตั้แก๊สรถยนต์
เมื่อเราประหยัดค่าน้ำมัน ก็ควรเก็บเงินไว้เป็นค่าบำรุงรักษาแทน หากท่านใช้รถโดยไม่ได้บำรุงรักษา ค่าซ่อมอาจแพงกว่า ค่าน้ำมันที่ต้องจ่ายไปนะ