วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องเตือนแก๊สรถยนต์รั่ว และสั่งตัดอัตโนมัติ


นวัตกรรมเตือนแก๊สรถยนต์รั่วและสั่งดับแก๊สอัตโนมัติ กันไฟไหม้

                เครื่องเตือนภัยแก๊ส  LPG  รั่วสำหรับรถติดแก๊ส lpg   และป้องกันการขาดอากาศในรถยนต์  เป็นสุดยอดนวัตกรรม  ฝีมือนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  การันตีคุณภาพด้วยรางวัลทรงคุณวุฒิ  ประเภทที่  จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำปี  2550  ของสำนักงานคระกรรมการอาชีวศึกษา  และคว้ารางวัลเกียรติยศ  ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดของ ปตท. ในโครงการ ปตท. ร่วมสานฝันนักประดิษฐ์ใช้พลังงานอย่างยั่งยืนมาแล้ว
                สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากความร่วมมือระหว่างนักศึกษาแผนกช่างยนต์กับแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์  ของวิทยาเทคนิคกาญจนบุรี  สมาชิกในทีมมีด้วยกัน  คน  เป็นนักศึกษาช่างยนต์  ปวส. จำนวน  คน  ได้แก่  นายเทพรัตน์  นิลแสง  นายวิวัฒน์  ชัยรัตน์  นายเจนเจริญ  ถิรวิทวัส  โสภณ  นายสรวุฒิ  นิลกุล  และนักศึกษาช่างอิเล็กทรอนิกส์  ปวส. คือ นายสิทธิพงษ์  ศิริน้อย 
                พวกเราเล็งเห็นถึงกระแสเรื่องพลังงานทดแทนที่กำลังมาแรงกอปรกับผมเองก็เป็นช่างยนต์ทำงานอยู่กับสถานประกอบการก็ได้เห็นรถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีกันเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบางคันติดตั้งแบบไม่ได้มาตรฐาน หรือ เมื่อมีการใช้งานนานเกิดความเสื่อมของอุปกรณ์   อาจทำให้เกิดปัญหาไฟลุกไหม้ได้  ทีมของเราจึงมีแนวคิดที่จะสร้างอุปกรณ์ที่จะทำให้กับผู้ใช้รถติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีมีความมั่นใจในการใช้งาน  นายเทพรัตน์นิลแสง  เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงความเป็นมาของโครงงาน
                หลังจากใช้เวลานานนับเดือน  ผ่านการลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้ง  โดยมีอาจารย์วัลลภ  มากมี  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ  คอยให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ พวกเขาก็สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีใครคิดค้นขึ้นมาก่อนเป็นผลสำเร็จ
                สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ประกอบด้วยหน่วยควบคุมซึ่งจะอยู่ในห้องโดยสาร  ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์  ชุด  เซ็นเซอร์ตัวที่หนึ่งจะติดตั้งไว้ภายในห้องเครื่องยนต์  ส่วนตัวที่สองจะติดตั้งไว้ใกล้ ๆ ถังบรรจุแก๊สด้านฝากระโปรงหลัง  ส่วนถังดับเพลิงจะติดตั้งอยู่ภายในห้องโดยสารบริเวณด้านหน้าที่นั่งผู้โดยสาร
                การทำงานของระบบเตือนภัยแก๊สแอลพีจีรั่วเพื่อป้องกันไฟไหม้รถยนต์จะทำงาน  ระดับ  ระดับที่หนึ่ง  “low”  เป็นการเตือนภัยด้วยเสียเมื่อตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่าโมเลกุลของแก๊สที่รั่วออกมามากกว่า  1,000  พีพีเอ็ม  ซึ่งเซนเซอร์จะสามารถจับได้  ภายในระยะเวลาไม่เกิน  30  วินาที  และโชว์เป็นไฟ  LED  ขึ้นที่บริเวณหน้าปัดพร้อมเสียงเตือน
                ในระดับที่  หรือ  medium  จะเป็นการป้องกันภัยด้วยการตัดระบบแก๊สด้วยการสั่งปิดวาล์วโซลินนอยด์ไม่ให้ส่งแก๊สไปยังห้องเครื่องยนต์เพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้  ซึ่งการทำงานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเซนเซอร์จับได้ว่ามีโมเลกุลของแก๊สมากกว่า  3,000  พีพีเอ็มขึ้นไป
                และถ้ามีความเข้มข้นของแก๊สถึงระดับ  6,000  พีพีเอ็ม  ก็จะเป็นการทำงานในระดับที่  คือ  high  โดยระบบจะสั่งงานให้มีการฉีดพ่นสารดับเพลิงไปยังจุดที่แก๊สรั่วไหลภายในห้องเครื่องยนต์หรือจุดที่ติดตั้งถังบรรจุแก๊สทันที  เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้ใช้รถและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวรถอย่างรวดเร็วทันการณ์
                อุปกรณ์ชิ้นเดียวกันนี้ยังช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถยนต์ที่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เนื่องจากได้รับแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ได้อีกด้วย  โดยมีตัวเซ็นเซอร์ที่คิดค้นขึ้นมาโดยเฉพาะ  ติดตั้งไว้ในกล่องเดียวกันกับระบบเตือนแก๊สแอลพีจีรั่ว  มีการเตือน  ระดับเช่นกัน  คือ  low, medium  เซ็ทให้มีเสียงเตือนพร้อมกับมีไฟโชว์  เพื่อให้ทราบว่าก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ได้เข้ามาในห้องโดยสารในปริมาณที่เป็นอันตรายแล้ว  และถ้าเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่ามีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เพิ่มปริมาณจนถึงระดับที่  หรือ  high  กล่องควบคุมจะสั่งงานให้ดับเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ  ผ่านทางลีเลย์ให้ไปตัดระบบไฟเพื่อดับเครื่องยนต์  เนื่องจากในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ โดยอนาคตอาจเป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อความปลอดภัยในการติตตั้งแก๊สรถยนต์ ซึ่งบางอู่ขณะนี้ได้มีการเริ่ม นำเสนอต่อลูกค้าบ้างแล้ว 
                ผลงานแห่งความภาคภูมิใจในครั้งนี้  ได้รับการสนับสนุนจากคุณสุวิชช์  โรหิตรัตนะ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี  และอาจารย์วัลลภ  มากมี  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการซึ่งมีประสบการณ์สูงในแวดวงนักประดิษฐ์ได้ในอนาคตสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถนำมาต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์ได้  และเชื่อว่าคงขายดี

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การดูแลรักษารถยนต์หลังจากมีการติดตั้งแก๊ส


เปลี่ยนมาใช้แก๊ส  LPG/NGV  การดูแลรักษาก็ต้องเปลี่ยน
                ด้วยสภาวะน้ำมันแพง ผู้ใช้รถยนต์ได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  สาเหตุใหญ่ ๆ มาจากน้ำมันที่มีราคาแพงมากขึ้น  และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาติดตั้งแก๊ส  เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า  การติดตั้งมีทั้งแบบหัวฉีด  (sequential injection)  และระบบดูด  (mixer)  ขึ้นอยู่กับงบประมาณ  และวิธีการติดตั้งของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ  แต่ละรุ่น  เมื่อได้มีการนำรถยนต์ไปติดตั้งแก๊สแล้วก็หมายความว่าท่านเจ้าของรถยนต์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันมาเป็นแก๊สเรียบร้อยแล้ว
                รถยนต์ที่ซื้อมาส่วนใหญ่ และปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการออกแบบและคัดสรรวัสดุอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้มีความเหมาะสมในการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง  ซึ่งค่าความร้อนในการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของน้ำมันจะมีอุณหภูมิจุดระเบิดต่ำกว่าแก๊สประมาณ  2 – 3  เท่า  ดังนั้น  เมื่อเจ้าของรถยอมรับการเปลี่ยนแปลง  หันมาใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง  สิ่งที่จะตามมาก็คือ  ท่านจะต้องดูแลรักษาเครื่องยนต์มากกว่าตอนใช้น้ำมันเป็นพิเศษ ซึ่งเรามีคำแนะนำจาก ช่างผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับรถใช้แก๊สมาฝากดังนี้ 
                1.    บำรุงรักษา หมั่นตรวจเช็คชุดอุปกรณ์แก๊สให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ โดยประมาณ 3 เดือนครั้ง  เพราะรถยนต์มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา  เมื่อผู้ใช้รถขับขี่ก็มีโอกาสทำให้อุปกรณ์แก๊สส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเคลื่อนตัว  ผู้ใช้รถจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ชุดติดตั้งแก๊สอยู่เสมอ  ถ้าพบว่าอุปกรณ์ส่วนหนึ่งส่วนใดผิดปกติหรือชำรุดเสียหาย  ควรรีบให้ช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ซ่อมแซมแก้ไขโดยด่วน 
                2.    ปรับแก้ระบบระบายความร้อน จะต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น   เช่น  พัดลมไฟฟ้าต้องปรับแต่งให้มีความเร็วรอบสูงกว่าเดิม  หรือขยายขนาดใบพัดให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม  เพื่อจะได้นำพาความร้อนออกจากเครื่องยนต์ได้เร็วขึ้น  วาล์วในหม้อน้ำต้องเปิดให้เร็วกว่าเดิม  ต้องหมั่นตรวจเช็คน้ำในหม้อน้ำอยู่เสมอ  อย่าปล่อยให้ขาด  หรือยุบ  รวมถึงต้องใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำ  เพื่อช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำ  ทั้งยังช่วยหล่อลื่นปั๊มน้ำ  ป้องกันการเกิดฟอง  ป้องกันการเกิดตะกรันตะกอนและป้องกันสนิม
                น้ำยาหม้อน้ำที่ดีสำหรับรถติดแก๊สนั้นต้องเป็นน้ำยาหม้อน้ำแท้ ๆ 100% ถึงจะช่วยเพิ่มจุดเดือดได้  วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำยาหม้อน้ำในปัจจุบันจะใช้  based ethylene glycol  ประมาณ  94%  ขึ้นไป  ส่วนที่เหลือจะเป็น  additive
                ข้อสังเกตในการเลือกซื้อเบื้องต้น  ขอแนะนำให้อ่านฉลาก  ต้องมีคำว่า  ethylene glycol  ข้อสังเกตต่อไป  ถ้าเป็น  ethylene glycol  เมื่อมีการสัมผัสถูกผิวหนังจะเกิดความร้อนและมีความลื่นที่ผิวหนัง  (เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด)  แต่ถ้าเป็นน้ำยาหม้อน้ำที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวจะไม่สามารถช่วยเพิ่มจุดเดือดได้  แต่อาจช่วยได้บางเรื่อง  เช่น  ป้องกันสนิม  ป้องกันการเกิดตะกอน  และป้องกันการเกิดฟอง  เป็นต้น
รถยนต์บางชนิด เช่น โตโยต้า fortuner หรือ Pajero Sport ได้รับการยอมรับในวงการแก๊สรถยนต์ว่า สามารถติดตั้งแก๊สได้โดยมีปัญหาในการใช้งานน้อยมาก ระบบเครื่องยนต์รองรับการทำงานแบบสองเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี นี้คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ท่านควรเลือก เมื่อคิดจะติดตั้แก๊สรถยนต์
เมื่อเราประหยัดค่าน้ำมัน ก็ควรเก็บเงินไว้เป็นค่าบำรุงรักษาแทน หากท่านใช้รถโดยไม่ได้บำรุงรักษา ค่าซ่อมอาจแพงกว่า ค่าน้ำมันที่ต้องจ่ายไปนะ