วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ติด lpg รถยนต์ แล้วจะดูแลยังไงดี ?



ติด lpg รถยนต์ แล้วจะดูแลยังไงดี ?



                สำหรับคนที่ติด lpg รถยนต์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แน่นอนว่าต้องมีความกังวลเกี่ยวกับอายุการใช้ของรถ อยากให้รถที่เรารักอยู่กับเราไปนานๆ  แต่ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์มากนัก ก็เป็นแค่คนธรรมดาหากินไปเช้าค่ำ ไม่มีความรู้ว่าจะต้องดูแลรถยนต์ระบบ LPG อย่างไรให้เหมาะสม วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆจากผู้มีประสบการณ์มาแนะนำกัน
                วิธีการดูแลรถยนต์ที่ติด LPG

            รอยรั่วตามข้อต่อ
                หมั่นตรวจสอบรวยรั่วตามข้อต่อ ท่อยาง อย่างสม่ำเสมอ  อาจจะคอยสังเกตุดูเวลาวิ่งว่าเติมเท่านี้วิ่งได้เท่าไรตัวอย่างเช่น เคยเติม 150 วิ่งได้ 100 โล แต่เดี๋ยวนี้เหลือ 70-80 โล บางทีสาเหตุอาจจะเกิดจากรอยรั่วก็ได้ 

             น้ำมันเครื่อง
                ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้คุณภาพดี เพราะว่าการติดแก๊จะเพิ่มอุนหภูมิเครื่องให้สูงกว่าเดิมกว่า 100 องศา ในห้องเผาไหม้ของระบบ LPG มีความร้อนถึง 250 – 350 องศาเทียบกับห้องเผาไหม้ของระบบน้ำมันปกติมีเพียง 100 – 150 องศา ยิ่งความร้อนมากเครื่องก็เสื่อมสภาพเร็วขึ้น 

            ระบบหล่อเย็น
                เนื่องจากการที่ติด lpg รถยนต์ จะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ควรหมั่นตรวจสอบน้ำในหม้อพักด้วยว่าพร่องไปกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่เพราะถ้าความร้อนขึ้นมากๆมีโอกาสที่เครื่องจะน๊อคได้

            ระดับน้ำมันเครื่อง
                หมั่นตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ สาเหตุเพราะรถ LPG มีความร้อนในห้องเผาไหม้สูงเรื่องน้ำมันเครื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหน้าที่ของน้ำมันเครื่องคือ ระบายความร้อน  ป้องกันเครื่องยนต์สึก รักษาความสะอาดเครื่องยนต์ ป้องกันการเสียดสีของผิวสัมผัสระหว่างโลหะ 

            อย่าดัดแปลงอุปกรณ์
                หากท่านไม่ได้มีความชำนาญเป็นพิเศษอย่าดัดแปลงอุปกรณ์ที่ติดตั้งมาจากโรงงานหรืออู่ เพราะอาจจะเกิดข้อผิดพลาดและได้รับอันตรายถึงชีวิต

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ติด lpg รถยนต์ แล้วดูแลยังไง ?

ติด lpg รถยนต์ แล้วดูแลยังไง ?



                LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1. โรงแยกก๊าซ ปตท. 2. โรงกลั่นน้ำมัน  3. โรงงานปิโตรเคมี  โดยการผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549)
                เรานำก๊าซมาใช้ในรถยนต์ เพราะสาเหตุหลัก 3 ข้อ คือ 1. ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลือน้อยลง  2. ปัญหาของโลกที่ร้อนขึ้น สภาวะเรือนกระจกที่เกิดจากสารคาร์บอนมอนออกไซด์ อันเป็นผลมาจากการเผาไหม้จากพลังงานน้ำมัน  3. ในปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซินมีราคาที่สูงขึ้น  ซึ่งการนำรถยนต์ที่เดิมช้ำน้ำมันในการขับเคลื่อนไปติดตั้งระบบแก๊ส ควรเลือกบริษัทที่สามารถไว้ใจได้ มีใบรับรองที่ถูกต้องหรืออาจจะใช้รถที่ติด lpg รถยนต์มาจากโรงงานเลยก็ได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
การดูแลรถยนต์ที่ติด lpg รถยนต์
1.       ตรวจเช็คจุดข้อต่อ และท่อนำแก๊ส ตรวจการรั่วซึมของระบบท่อนำแก๊สของจุดต่างๆของเครื่องยนต์ในทุกๆ  6 เดือน การตรวจโดยเครื่องตรวจจับแก๊สตามจุดข้อต่อ หรืออาจใช้ฟองสบู่ ก็ได้
2.       ควรตรวจเช็คระบบน้ำมันเครื่องทุกๆสัปดาห์ เพราะการเผาไหม้ของการใช้แก๊สที่ให้ความร้อนสูงมาก ก็ทำให้น้ำมันเครื่องที่เข้าไปหล่อเลี้ยงชุดแหวนลูกสูบก็จะได้รับการเผาไหม้ได้ด้วย จึงทำให้น้ำมันเครื่องลดน้อยลง
3.       ทำการตรวจเช็คการทำงานของเครื่องยนต์ ควรมีการเปลี่ยนชุดหัวเทียนใหม่ทุกๆ ประมาณ 6 เดือน เพราะอาจทำให้การจุดระเบิดให้ห้องเผาไหม้เกิดความผิดพลาดได้จากความร้อนในห้องเผาไหม้ที่สูงมากๆซึ่งอาจทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่สมบรูณ์ และอย่าลืมตรวจชุดสายหัวเทียนอย่าให้มีแตกหัก หากมีการแตกหักให้รีบเปลี่ยนใหม่ป้องกันการเกิดประกายไฟขึ้นได้
4.       ควรเช็คระดับน้ำในระบบระบายความร้อนทุกสัปดาห์เพราะการใช้แก๊สมีความร้อนสูงมากกว่าการใช้น้ำมัน ควรดูแลปรับชุดระบายความร้อนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด


วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การติด NGV 2 รูปแบบให้ได้มาตรฐาน

การติด NGV 2 รูปแบบให้ได้มาตรฐาน



                สวัสดีผู้ใช้รถยนต์ทุกท่านในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันบ้านเราก็ขึ้นมาตลอดเลยนะครับบางท่านที่ใช้รถยนต์เป็นระยะทางมากๆในแต่ล่ะวันคงจะอยากหาหนทางแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ที่ผ่านมาหนทางที่มองเห็นชัดๆในประเทศเราก็คงจะไม่พันการใช้พลังงานทางเลือกอย่าง NGV วันนี้เราจะแนะนำรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการติด ngv ให้ทุกท่านได้ทราบไว้เป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจกันนะครับ เราสามารถแบ่งการติด ngv ได้เป็นสอง รูปแบบใหญ่ๆได้แก่ 
            1.  การใช้ก๊าซธรรมชาติกับรถยนต์ประเภทรถเก๋ง (เครื่องยนต์เบนซิน)
NGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ (Bi-Fuel System)
เป็นระบบที่เราสามารถเลือกสลับใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง โดยปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงแบ่งได้ 2 ระบบ คือ
             1.1 ระบบดูดก๊าซ (Fumigation System)
จะมีอุปกรณ์ผสมก๊าซเข้ากับอากาศ (Gas Mixer)รับหน้าที่ผสมอากาศที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไปกับก๊าซ NGV ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการเผาไหม้ก่อนที่จะจ่ายเข้าเครื่องยนต์ ระบบนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่จ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเรเตอร์ มีระบบควบคุมการจ่ายก๊าซ 2 แบบ คือ
                ก. แบบวงจรเปิด (Open Loop) เป็นระบบคล้าย LPG ที่แท็กซี่ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีชุดควบคุมการจ่ายก๊าซอิเลคทรอนิคส์ (ECU)
                ข.แบบวงจรปิด (Close Loop) จะมีชุดควบคุมการจ่ายก๊าซอิเล็คทรอนิคส์ (ECU) เพื่อควบคุมการจ่ายก๊าซให้เหมาะสม
            1.2 ระบบฉีดก๊าซ (Multi point injection System หรือ MPI)
มีชุดควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ทำการประมวลผลควบคุมปริมาณการจ่ายก๊าซเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ซึ่งจะทำให้สมรรถนะในการขับขี่ใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินมากที่สุด ระบบนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่จ่ายน้ำมันเบนซินด้วยหัวฉีด (EFI)
            2. การใช้ก๊าซธรรมชาติกับรถยนต์ประเภทรถกระบะ/รถตู้ (เครื่องยนต์ดีเซล)
รถกระบะ หรือ รถตู้ที่ใช้ ก๊าซNGV ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel System)
เป็นระบบที่ใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับน้ำมันดีเซล หรือใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียว อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลจะขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์นั้นๆ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ก๊าซ ระบบนี้สามารถเลือกใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียวหรือใช้เชื้อเพลิงร่วมก็ได้ โดยการปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิง มีระบบควบคุมการจ่ายก๊าซฯ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
            2.1 ระบบดูดก๊าซแบบวงจรเปิด (Fumigation Open Loop)
คือระบบที่มีการควบคุมแบบธรรมดาไม่มีคอมพิวเตอร์มาคอยควบคุมการจ่ายก๊าซหรือ Mechanic Control จากผลการทดสอบในภาคสนามของรถกระบะที่ติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย โดยเฉลี่ยสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล ได้ประมาณร้อยละ 2550 สามารถจะหยัดค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 15-35 และช่วยลดปริมาณควันดำในอากาศลงด้วย 
            2.2 ระบบดูดก๊าซแบบวงจรปิด (Fumigation Close Loop)
เป็นระบบที่มีการควบคุมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการจ่ายก๊าซและน้ำมันดีเซล ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบดูดก๊าซระบบควบคุม แบบวงจรเปิดแต่มีราคาสูงกว่า