วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของแก๊ส NGV



ความเป็นมาของแก๊ส NGV


                แก๊ส NGV นั้นเกิดจากการนำก๊าซธรรมซาติ (ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) และจะถูกส่งเข้าระบบท่อ เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้ารองลงมาก็จะถูกนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบางส่วนจะถูกนำมาใช้ในภาคขนส่งโดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง (ประมาณ 3,000 ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว) และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ต่อไป
แต่ใครจะรู้ว่ากว่าที่จะมาเป็นก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็น แก๊ส NGV หรือนำไปเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆนั้นเกิดจากการทับทมของซากพืชซากสัตว์เป็นเวลาหลายแสนหลายล้านปี จนเกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ และสุดท้ายจึงกลายมาเป็นก๊าซธรรมชาติที่เราจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
                ส่วนในด้านของความปลอดภัยนั้น แก๊ส NGV ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีความปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับ LPG น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันดีเซล เนื่องจาก แก๊ส NGV นั้นมีความเบาบางกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลขึ้นมาจึงไม่สะสมอยู่บนพื้นดินจนเกิดการลุกไหม้เหมือนกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น นอกจากนี้ แก๊ส NGV ยังเป็นพลังงานสะอาด เนื่องจากมีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และเป็นก๊าซที่มีการเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่า จึงไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและลดปัญหามลพิษได้อีกด้วย
                ดังนั้น แก๊ส NGV จึงเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดแล้ว ยังปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ แก๊ส NGV ยังเป็นพลังงานที่อยู่ภายในประเทศของเรา ทำให้มีราคาที่ถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ และในอนาคต แก๊ส NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์เพื่อใช้ แก๊ส NGV จากโรงงานสู่ท้องตลาดอยู่หลายราย

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

รอบรู้เกี่ยวกับการติด NGV



รอบรู้เกี่ยวกับการติด NGV




                ในปัจจุบันไม่มีใครที่ไม่รู้จัก NGV ซึ่งเป็นก๊าซที่นิยมติดตั้งทั้งในรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เนื่องจากก๊าซชนิดนี้มีราคาถูกที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น แต่ใครอีกหลายคนก็อาจจะไม่รู้ว่าการติด NGV นั้นจำเป็นที่จะต้องติดตั้งให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันการเสียหายทางด้านชีวิตและทรัพย์สินนอกจากผู้ที่ติด NGV ที่จะต้องให้ความสำคัญแล้ว สำหรับผู้ใช้รถยนต์ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
                สำหรับผู้ติด NGV ควรจะดำเนินการติดตั้งให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ อีกทั้งควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพราะถ้าหากเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ตรงตามมาตรฐานก็อาจจะทำให้อุปกรณ์ชนิดนั้นเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ และอาจจะเป็นอันตรายถึงผู้ใช้รถยนต์ก็เป็นได้
                ส่วนผู้ใช้รถยนต์เมื่อทำการติด NGV เรียบร้อยแล้ว ควรมั่นตรวจเช็คระบบก๊าซและอุปกรณ์ต่างๆ ทุกสัปดาห์หรือเดือนละหนึ่งถึงสองครั้ง แต่ถ้าหากท่านไม่มีพื้นฐานในการตรวจเช็ครถยนต์ ก็สามารถนำรถยนต์ของท่านไปเข้ารับบริการกับทางศูนย์ที่ท่านได้ติดตั้งระบบก๊าซNGV มา (จะต้องเป็นศูนย์ที่ได้รับมาตรฐาน) ซึ่งการตรวจและทดสอบอุปกรณ์นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ และควรตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อจะได้นำไปแก้ไขต่อไป และไม่ทำให้ผู้ใช้รถยนต์เกิดอันตรายในอนาคต
                ดังนั้นผู้ใช้รถยนต์ควรจะเลือกใช้ศูนย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานในการติด NGV และควรนำรถยนต์ของตนเองไปเข้ารับการตรวจและทดสอบอยู่บ่อยครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่านและคนที่ท่านรัก อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนนได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

คุณรู้จัก แก๊ส NGV มากแค่ไหน


                แก๊สNGV หรือชื่อเต็มคือ แก๊สธรรมชาติ Natural Gas of Vehicles เป็นสารประกอบชนิด Hydrocarbon ที่มีแก๊สมีเทนเป็นองค์ประกอบหลัก 

พลังงานแก๊ส NGV เกิดจากซากพืชซากสัตว์หรือฟอสซิล จนกระทั่งกลายเป็นถ่านหิน น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ให้เรานำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆต่อไปนั่นเอง สำหรับแก๊ส NGV นั้นถือว่าเป็นพลังงานที่สะอาด เพราะว่าแก๊ส NGV มีคาร์บอนเป็นสัดส่วนน้อยกว่าและสามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้ถือว่าเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อเกิดมลพิษ สารตะกั่ว ไอปรอทและควันดำ นอกจากนั้นแล้วแก๊ส NGV ถือว่าเป็นแก๊สที่ปลอดภัยเนื่องจากมีคุณสมบัติที่เบากว่าอากาศ ดังนั้นจึงเมื่อเกิดการรั่วไหล จะทำให้กระจายสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วไม่สะสมที่จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นดินและเกิดระเบิด แต่อย่างไรก็ตาม แก๊ส NGV เป็นแก๊สที่ไม่มีสีและกลิ่น จึงต้องมีการเติมสารเคมีบางคนิดเพื่อทำให้รับรู้ได้ว่าเกิดแก๊สรั่วเมื่อมีการรั่วไหล

                สำหรับ แก๊ส NGVนั้นเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีราคาที่ถูก ทำให้ผู้ขับขี่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เหตุที่แก๊ส NGV ราคาถูกก็คือสามารถผลิตและดำเนินการขนส่งได้ภายในประเทศ แก๊ส NGV นั้นเป็นแก๊สที่มีราคาถูกที่สุดในบรรดาเชื้อเพลิงขับเคลื่อนทั้งหลาย และนอกจากสามารถผลิตได้ภายในประเทศแล้ว รัฐบาลยังมีการตรึงราคาส่งเสริมการใช้แก๊ส NGV ทำให้แนวโน้มราคาจะไม่ขึ้นสูงมากนักอีกด้วย ในปัจจุบันแก๊ส NGV มีราคาถูกเป็น 1/3 ของน้ำมันเบนซิน ดีเซลและเมื่อเทียบกับแก๊ส LPG ก็ยังมีราคาที่ถูกกว่าถึง 47% อีกด้วย จึงไม่แปลกใจที่แก๊ส NGV นี้จะเป็นที่นิยม โดยเฉพาะในรถโดยสารประเภท Taxi ร้อยละ 95% จะเลือกใช้แก๊สแก๊ส NGV ทั้งหมดเนื่องจากประหยัดต้นทุนและดีต่อสภาพเครื่องยนต์

                อย่างไรก็ตามผู้ขับขี่ควรเลือกการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับรถและเหมาะสมกับตัวเราที่สุด ที่สำคัญคือต้องไม่ละเลยความปลอดภัย ไม่ว่าจะติดตั้งแก๊สอะไรหรือใช้น้ำมัน ผู้ขับขี่ก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อนเสมอ ตั้งแต่การติดตั้ง ควรเลือกร้านติดตั้งที่มีประสบการ์ณ มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม และเตรียมหาความรู้เกี่ยวกับแก๊สหรือปัญหาของการใช้เชื้อเพลิงชนิดนั้นไว้ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้นั่นเอง

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีการดูแลรถติดแก๊ส

รถติดแก๊ส ประหยัด แต่ต้องดูแล
การใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบของการใช้แก๊สควบคู่ไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเรียกว่า การใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบ ที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน มี 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ การใช้ LPG รถยนต์ และ แก๊ส GV สำหรับการใช้พลังงานทดแทนทั้ง 2 อย่างจำเป็นต้องกมีการดูแลบำรุงรักษามากกว่าการใช้งานสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้องเพลิงปกติ เนื่องจากเครื่องยนต์กว่า 95% ที่ใช้อยู่ในบ้านเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับก๊าซโดยตรง แต่มีอยู่บ้างเพียงเล็กน้อยเท่านันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสำหรับรองรับการใช้แก๊ส ซึ่งการลงทุนในการวิจัยและพัฒนารวมถึงการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนให้รองรับกับการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นแก๊ส จะมีต้นทุนสูงมาก ส่งผลโดยตรงต่อราคารถใหม่ที่ติดตั้งสมบูรณ์เสร็จจากโรงงาน แต่ไม่ได้หมายความว่า รถที่ติดตั้งระบบแก๊สออกมาจากโรงงานทุกยี่ห้อเป็นเครื่องยนต์ที่ปรับปรุงให้รองรับการใช้แก๊สโดยเฉพาะ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานแก๊สทดแทนและลดข้อด้อยของการใช้แก๊สลงได้บ้างรวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยืนยาวขึ้น แม้บางอย่างดูเผิน ๆ อาจจะสิ้นเปลืองกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แต่เมื่อคิดคำนวณถึงราคาแก๊สที่ถูกกว่าการใช้น้ำมันเบนซินมันจึงถูกยอมรับได้ไปโดยปริยาย
การบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก๊สเบื้องต้น
เนื่องจากรถยนต์ที่ได้ใช้เชื้อเพลิงแก๊สจะมีอุณหภูมิที่ได้จากการเผาไหม้สูงกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
เบนซินไร้สารตะกั่วมากกว่าเท่าตัว ดังนั้น วิธีปฏิบัติเบื้องต้นในขั้นตอนการบำรุงรักษารถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส คือ
สังเกตกลิ่นแก๊สรั่วอย่างสม่ำเสมอทุกวันและทุกครั้งที่มีการใช้งาน หากพบให้หยุดใช้ระบบแก๊ส ให้ใช้ระบบเชื้องเพลิงปกติ และรีบนำรถเข้าตรวจสอบโดยเร็ว
หมั่นตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำอยู่เสมอว่ามีการพร่องของน้ำบ้างหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน้ำพร่องบ่อย ให้รีบนำรถเข้าไปตรวจเช็คโดยเร็ว เนื่องจากมีการติดตั้งระบบแก๊สเพิ่ม จะต้องมีการตัดต่อระบบน้ำหล่อเย็น เข้ากับระบบน้ำหล่อเย็น เข้ากับระบบแก๊สการอุ่น ดังนั้น อาจมีการรั่วของน้ำหล่อเย็นได้ รวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาได้
ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องทุก ๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เนื่องจากเครื่องยนต์ที่ติดตั้งแก๊สจะมีความร้อนที่ห้องเผาไหม้มากกว่าปกติ ทำให้อัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเครื่องจะมากกว่าเครื่องยนต์ปกติอยู่เล็กน้อย และควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องอย่างเคร่งครัด
ควรหมั่นเป่าไส้กรองอากาศทุก ๆ 2 -3 สัปดาห์ และเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก ๆ 10,000 – 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่สภาพการใช้งาน โดยเฉพาะรถที่ใช้งานในพื้นที่มีฝุ่นมาก
ตรวจสอบหัวเทียนทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือเปลี่ยนหัวเทียนทุก ๆ 15,000 – 20,000 กิโลเมตร สำหรับหัวเทียนแบบธรรมดาหรือทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร สำหรับหัวเทียนพิเศษที่ทนความร้อนได้ดี เช่น หัวเทียนประเภท อีเรเดียมหรือหัวเทียนประเภทหัวเข็มซึ่งช่วยให้เผาไหม้หมดจด และเครื่องยนต์ไม่สะดุดหรือกระตุก
ตรวจเช็คบ่าวาล์วตามระยะหรือทุก ๆ 40,000 – 60,000 กิโลเมตร เนื่องจากบ่าวาล์วจะสึกหรอเร็วกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไป
ควรถ่ายตะกอนแก๊ส (ขี้แก๊ส) ทุก ๆ 50,000 กิโลเมตรและล้างหม้อต้ม (Pressure Reducer) ทุก ๆ 1-2 ปี รวมถึงเช็คสภาพความสมบูรณ์ของหม้อต้มโดยการล้างหม้อต้มตามตารางบการบำรุงรักษา
ควรเปลี่ยนกรองแก๊สทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร ล้างทำความสะอาดโซลินอย์วาล์ว ทุก 50,000 กิโลเมตร
เช็คสภาพหรือเปลี่ยนติ๊กแก๊สหรือทุก ๆ 2 ปี หน้า-หลังหม้อต้ม ขาเข้า-ออก ของถังเก็บแก๊สจะจ่ายแก๊สโดยใช้น้ำผสมสบู่เหลวตามข้อต่อต่าง ๆ ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
ระมัดระวังการเกิด Back Fire โดยเฉพาะในระบบ Mixer ซึ่งแก้ไขได้ โดยเปลี่ยนพฤติกรรมการขับ ให้ขับแบบสุภาพ นุ่มนวล ค่อย ๆ เร่งเครื่องยนต์ อย่าขับแบบรุนแรงหรือกดดันเร่งเฉียบพลัน
อย่าพยายามปรับใช้แก๊สจนบางเกินไป ซึ่งจะทำให้ห้องเครื่องยนต์มีความร้อนสูง
ปรับจูนอัตราส่วนผสมของแก๊สให้เหมาะสม หากรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติของเครื่องยนต์หรือทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร ตรวจสอบและขันสกรูหรือน๊อตยึดถังแก๊สทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร
สลับการขับด้วยน้ำมันเชื้องเพลิงปกติบ้างประมาณ 10% ของระยะทางที่วิ่งประจำวัน เพื่อช่วยหล่อลื่นวาล์วและไม่ทำให้วาล์วแห้งจนเกินไป
การดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก็สมีความจำเป็นมาก จึงต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ซึ่งการดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก๊ส ทั้งแบบ LPG และ NGV (CNG) มีลักษณะและขั้นตอนใกล้เคียงกัน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการตรวจเช็คได้ทั้งสองแบบ บางอย่างท่านผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ แต่หากรู้สึกว่ายุ่งยากและไม่สะดวก ควรให้ร้านหนือบริษัทที่รับติดตั้งตรวจสอบให้ตามกำหนดเวลาหรือตามคู่มือการใช้งานจะเป็นการดีที่สุด