นวัตกรรมเตือนแก๊สรถยนต์รั่วและสั่งดับแก๊สอัตโนมัติ
กันไฟไหม้
“เครื่องเตือนภัยแก๊ส LPG
รั่วสำหรับรถติดแก๊ส lpg และป้องกันการขาดอากาศในรถยนต์” เป็นสุดยอดนวัตกรรม ฝีมือนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี การันตีคุณภาพด้วยรางวัลทรงคุณวุฒิ ประเภทที่
1 จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำปี 2550
ของสำนักงานคระกรรมการอาชีวศึกษา และคว้ารางวัลเกียรติยศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ
รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดของ ปตท. ในโครงการ ปตท.
ร่วมสานฝันนักประดิษฐ์ใช้พลังงานอย่างยั่งยืนมาแล้ว
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากความร่วมมือระหว่างนักศึกษาแผนกช่างยนต์กับแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ ของวิทยาเทคนิคกาญจนบุรี สมาชิกในทีมมีด้วยกัน 5 คน เป็นนักศึกษาช่างยนต์ ปวส. 2
จำนวน 4 คน ได้แก่
นายเทพรัตน์ นิลแสง นายวิวัฒน์
ชัยรัตน์ นายเจนเจริญ ถิรวิทวัส
โสภณ นายสรวุฒิ นิลกุล
และนักศึกษาช่างอิเล็กทรอนิกส์
ปวส. 1 คือ
นายสิทธิพงษ์ ศิริน้อย
“พวกเราเล็งเห็นถึงกระแสเรื่องพลังงานทดแทนที่กำลังมาแรงกอปรกับผมเองก็เป็นช่างยนต์ทำงานอยู่กับสถานประกอบการก็ได้เห็นรถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคันติดตั้งแบบไม่ได้มาตรฐาน หรือ
เมื่อมีการใช้งานนานเกิดความเสื่อมของอุปกรณ์ อาจทำให้เกิดปัญหาไฟลุกไหม้ได้
ทีมของเราจึงมีแนวคิดที่จะสร้างอุปกรณ์ที่จะทำให้กับผู้ใช้รถติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีมีความมั่นใจในการใช้งาน” นายเทพรัตน์นิลแสง เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงความเป็นมาของโครงงาน
หลังจากใช้เวลานานนับเดือน ผ่านการลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้ง โดยมีอาจารย์วัลลภ มากมี
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
คอยให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ
พวกเขาก็สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีใครคิดค้นขึ้นมาก่อนเป็นผลสำเร็จ
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ประกอบด้วยหน่วยควบคุมซึ่งจะอยู่ในห้องโดยสาร ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ 2 ชุด
เซ็นเซอร์ตัวที่หนึ่งจะติดตั้งไว้ภายในห้องเครื่องยนต์ ส่วนตัวที่สองจะติดตั้งไว้ใกล้ ๆ
ถังบรรจุแก๊สด้านฝากระโปรงหลัง ส่วนถังดับเพลิงจะติดตั้งอยู่ภายในห้องโดยสารบริเวณด้านหน้าที่นั่งผู้โดยสาร
การทำงานของระบบเตือนภัยแก๊สแอลพีจีรั่วเพื่อป้องกันไฟไหม้รถยนต์จะทำงาน 3 ระดับ ระดับที่หนึ่ง “low” เป็นการเตือนภัยด้วยเสียเมื่อตัวเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่าโมเลกุลของแก๊สที่รั่วออกมามากกว่า 1,000
พีพีเอ็ม
ซึ่งเซนเซอร์จะสามารถจับได้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 30
วินาที
และโชว์เป็นไฟ LED ขึ้นที่บริเวณหน้าปัดพร้อมเสียงเตือน
ในระดับที่ 2 หรือ medium จะเป็นการป้องกันภัยด้วยการตัดระบบแก๊สด้วยการสั่งปิดวาล์วโซลินนอยด์ไม่ให้ส่งแก๊สไปยังห้องเครื่องยนต์เพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
ซึ่งการทำงานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเซนเซอร์จับได้ว่ามีโมเลกุลของแก๊สมากกว่า 3,000
พีพีเอ็มขึ้นไป
และถ้ามีความเข้มข้นของแก๊สถึงระดับ 6,000
พีพีเอ็ม
ก็จะเป็นการทำงานในระดับที่ 3 คือ high
โดยระบบจะสั่งงานให้มีการฉีดพ่นสารดับเพลิงไปยังจุดที่แก๊สรั่วไหลภายในห้องเครื่องยนต์หรือจุดที่ติดตั้งถังบรรจุแก๊สทันที
เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้ใช้รถและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับตัวรถอย่างรวดเร็วทันการณ์
อุปกรณ์ชิ้นเดียวกันนี้ยังช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถยนต์ที่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เนื่องจากได้รับแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ได้อีกด้วย โดยมีตัวเซ็นเซอร์ที่คิดค้นขึ้นมาโดยเฉพาะ
ติดตั้งไว้ในกล่องเดียวกันกับระบบเตือนแก๊สแอลพีจีรั่ว มีการเตือน
3 ระดับเช่นกัน คือ low,
medium เซ็ทให้มีเสียงเตือนพร้อมกับมีไฟโชว์
เพื่อให้ทราบว่าก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ได้เข้ามาในห้องโดยสารในปริมาณที่เป็นอันตรายแล้ว
และถ้าเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่ามีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เพิ่มปริมาณจนถึงระดับที่ 3
หรือ high กล่องควบคุมจะสั่งงานให้ดับเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ ผ่านทางลีเลย์ให้ไปตัดระบบไฟเพื่อดับเครื่องยนต์
เนื่องจากในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ โดยอนาคตอาจเป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อความปลอดภัยในการติตตั้งแก๊สรถยนต์ ซึ่งบางอู่ขณะนี้ได้มีการเริ่ม นำเสนอต่อลูกค้าบ้างแล้ว
ผลงานแห่งความภาคภูมิใจในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากคุณสุวิชช์ โรหิตรัตนะ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
และอาจารย์วัลลภ มากมี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการซึ่งมีประสบการณ์สูงในแวดวงนักประดิษฐ์ได้ในอนาคตสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้สามารถนำมาต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ และเชื่อว่าคงขายดี