วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การติด NGV 2 รูปแบบให้ได้มาตรฐาน

การติด NGV 2 รูปแบบให้ได้มาตรฐาน



                สวัสดีผู้ใช้รถยนต์ทุกท่านในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันบ้านเราก็ขึ้นมาตลอดเลยนะครับบางท่านที่ใช้รถยนต์เป็นระยะทางมากๆในแต่ล่ะวันคงจะอยากหาหนทางแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ที่ผ่านมาหนทางที่มองเห็นชัดๆในประเทศเราก็คงจะไม่พันการใช้พลังงานทางเลือกอย่าง NGV วันนี้เราจะแนะนำรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการติด ngv ให้ทุกท่านได้ทราบไว้เป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจกันนะครับ เราสามารถแบ่งการติด ngv ได้เป็นสอง รูปแบบใหญ่ๆได้แก่ 
            1.  การใช้ก๊าซธรรมชาติกับรถยนต์ประเภทรถเก๋ง (เครื่องยนต์เบนซิน)
NGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ (Bi-Fuel System)
เป็นระบบที่เราสามารถเลือกสลับใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง โดยปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงแบ่งได้ 2 ระบบ คือ
             1.1 ระบบดูดก๊าซ (Fumigation System)
จะมีอุปกรณ์ผสมก๊าซเข้ากับอากาศ (Gas Mixer)รับหน้าที่ผสมอากาศที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไปกับก๊าซ NGV ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับการเผาไหม้ก่อนที่จะจ่ายเข้าเครื่องยนต์ ระบบนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่จ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเรเตอร์ มีระบบควบคุมการจ่ายก๊าซ 2 แบบ คือ
                ก. แบบวงจรเปิด (Open Loop) เป็นระบบคล้าย LPG ที่แท็กซี่ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีชุดควบคุมการจ่ายก๊าซอิเลคทรอนิคส์ (ECU)
                ข.แบบวงจรปิด (Close Loop) จะมีชุดควบคุมการจ่ายก๊าซอิเล็คทรอนิคส์ (ECU) เพื่อควบคุมการจ่ายก๊าซให้เหมาะสม
            1.2 ระบบฉีดก๊าซ (Multi point injection System หรือ MPI)
มีชุดควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ทำการประมวลผลควบคุมปริมาณการจ่ายก๊าซเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ซึ่งจะทำให้สมรรถนะในการขับขี่ใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินมากที่สุด ระบบนี้เหมาะกับเครื่องยนต์ที่จ่ายน้ำมันเบนซินด้วยหัวฉีด (EFI)
            2. การใช้ก๊าซธรรมชาติกับรถยนต์ประเภทรถกระบะ/รถตู้ (เครื่องยนต์ดีเซล)
รถกระบะ หรือ รถตู้ที่ใช้ ก๊าซNGV ระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel System)
เป็นระบบที่ใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับน้ำมันดีเซล หรือใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียว อัตราส่วนก๊าซธรรมชาติต่อน้ำมันดีเซลจะขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์นั้นๆ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ก๊าซ ระบบนี้สามารถเลือกใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียวหรือใช้เชื้อเพลิงร่วมก็ได้ โดยการปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิง มีระบบควบคุมการจ่ายก๊าซฯ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
            2.1 ระบบดูดก๊าซแบบวงจรเปิด (Fumigation Open Loop)
คือระบบที่มีการควบคุมแบบธรรมดาไม่มีคอมพิวเตอร์มาคอยควบคุมการจ่ายก๊าซหรือ Mechanic Control จากผลการทดสอบในภาคสนามของรถกระบะที่ติดตั้งอุปกรณ์ชนิดนี้ ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย โดยเฉลี่ยสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล ได้ประมาณร้อยละ 2550 สามารถจะหยัดค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 15-35 และช่วยลดปริมาณควันดำในอากาศลงด้วย 
            2.2 ระบบดูดก๊าซแบบวงจรปิด (Fumigation Close Loop)
เป็นระบบที่มีการควบคุมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมการจ่ายก๊าซและน้ำมันดีเซล ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบดูดก๊าซระบบควบคุม แบบวงจรเปิดแต่มีราคาสูงกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น