วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีการดูแลรถติดแก๊ส

รถติดแก๊ส ประหยัด แต่ต้องดูแล
การใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบของการใช้แก๊สควบคู่ไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเรียกว่า การใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบ ที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน มี 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ การใช้ LPG รถยนต์ และ แก๊ส GV สำหรับการใช้พลังงานทดแทนทั้ง 2 อย่างจำเป็นต้องกมีการดูแลบำรุงรักษามากกว่าการใช้งานสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้องเพลิงปกติ เนื่องจากเครื่องยนต์กว่า 95% ที่ใช้อยู่ในบ้านเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับก๊าซโดยตรง แต่มีอยู่บ้างเพียงเล็กน้อยเท่านันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสำหรับรองรับการใช้แก๊ส ซึ่งการลงทุนในการวิจัยและพัฒนารวมถึงการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนให้รองรับกับการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นแก๊ส จะมีต้นทุนสูงมาก ส่งผลโดยตรงต่อราคารถใหม่ที่ติดตั้งสมบูรณ์เสร็จจากโรงงาน แต่ไม่ได้หมายความว่า รถที่ติดตั้งระบบแก๊สออกมาจากโรงงานทุกยี่ห้อเป็นเครื่องยนต์ที่ปรับปรุงให้รองรับการใช้แก๊สโดยเฉพาะ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานแก๊สทดแทนและลดข้อด้อยของการใช้แก๊สลงได้บ้างรวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยืนยาวขึ้น แม้บางอย่างดูเผิน ๆ อาจจะสิ้นเปลืองกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แต่เมื่อคิดคำนวณถึงราคาแก๊สที่ถูกกว่าการใช้น้ำมันเบนซินมันจึงถูกยอมรับได้ไปโดยปริยาย
การบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก๊สเบื้องต้น
เนื่องจากรถยนต์ที่ได้ใช้เชื้อเพลิงแก๊สจะมีอุณหภูมิที่ได้จากการเผาไหม้สูงกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
เบนซินไร้สารตะกั่วมากกว่าเท่าตัว ดังนั้น วิธีปฏิบัติเบื้องต้นในขั้นตอนการบำรุงรักษารถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส คือ
สังเกตกลิ่นแก๊สรั่วอย่างสม่ำเสมอทุกวันและทุกครั้งที่มีการใช้งาน หากพบให้หยุดใช้ระบบแก๊ส ให้ใช้ระบบเชื้องเพลิงปกติ และรีบนำรถเข้าตรวจสอบโดยเร็ว
หมั่นตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำอยู่เสมอว่ามีการพร่องของน้ำบ้างหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน้ำพร่องบ่อย ให้รีบนำรถเข้าไปตรวจเช็คโดยเร็ว เนื่องจากมีการติดตั้งระบบแก๊สเพิ่ม จะต้องมีการตัดต่อระบบน้ำหล่อเย็น เข้ากับระบบน้ำหล่อเย็น เข้ากับระบบแก๊สการอุ่น ดังนั้น อาจมีการรั่วของน้ำหล่อเย็นได้ รวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาได้
ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องทุก ๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เนื่องจากเครื่องยนต์ที่ติดตั้งแก๊สจะมีความร้อนที่ห้องเผาไหม้มากกว่าปกติ ทำให้อัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเครื่องจะมากกว่าเครื่องยนต์ปกติอยู่เล็กน้อย และควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องอย่างเคร่งครัด
ควรหมั่นเป่าไส้กรองอากาศทุก ๆ 2 -3 สัปดาห์ และเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก ๆ 10,000 – 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่สภาพการใช้งาน โดยเฉพาะรถที่ใช้งานในพื้นที่มีฝุ่นมาก
ตรวจสอบหัวเทียนทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือเปลี่ยนหัวเทียนทุก ๆ 15,000 – 20,000 กิโลเมตร สำหรับหัวเทียนแบบธรรมดาหรือทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร สำหรับหัวเทียนพิเศษที่ทนความร้อนได้ดี เช่น หัวเทียนประเภท อีเรเดียมหรือหัวเทียนประเภทหัวเข็มซึ่งช่วยให้เผาไหม้หมดจด และเครื่องยนต์ไม่สะดุดหรือกระตุก
ตรวจเช็คบ่าวาล์วตามระยะหรือทุก ๆ 40,000 – 60,000 กิโลเมตร เนื่องจากบ่าวาล์วจะสึกหรอเร็วกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไป
ควรถ่ายตะกอนแก๊ส (ขี้แก๊ส) ทุก ๆ 50,000 กิโลเมตรและล้างหม้อต้ม (Pressure Reducer) ทุก ๆ 1-2 ปี รวมถึงเช็คสภาพความสมบูรณ์ของหม้อต้มโดยการล้างหม้อต้มตามตารางบการบำรุงรักษา
ควรเปลี่ยนกรองแก๊สทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร ล้างทำความสะอาดโซลินอย์วาล์ว ทุก 50,000 กิโลเมตร
เช็คสภาพหรือเปลี่ยนติ๊กแก๊สหรือทุก ๆ 2 ปี หน้า-หลังหม้อต้ม ขาเข้า-ออก ของถังเก็บแก๊สจะจ่ายแก๊สโดยใช้น้ำผสมสบู่เหลวตามข้อต่อต่าง ๆ ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
ระมัดระวังการเกิด Back Fire โดยเฉพาะในระบบ Mixer ซึ่งแก้ไขได้ โดยเปลี่ยนพฤติกรรมการขับ ให้ขับแบบสุภาพ นุ่มนวล ค่อย ๆ เร่งเครื่องยนต์ อย่าขับแบบรุนแรงหรือกดดันเร่งเฉียบพลัน
อย่าพยายามปรับใช้แก๊สจนบางเกินไป ซึ่งจะทำให้ห้องเครื่องยนต์มีความร้อนสูง
ปรับจูนอัตราส่วนผสมของแก๊สให้เหมาะสม หากรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติของเครื่องยนต์หรือทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร ตรวจสอบและขันสกรูหรือน๊อตยึดถังแก๊สทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร
สลับการขับด้วยน้ำมันเชื้องเพลิงปกติบ้างประมาณ 10% ของระยะทางที่วิ่งประจำวัน เพื่อช่วยหล่อลื่นวาล์วและไม่ทำให้วาล์วแห้งจนเกินไป
การดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก็สมีความจำเป็นมาก จึงต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ซึ่งการดูแลบำรุงรักษารถยนต์ที่ใช้แก๊ส ทั้งแบบ LPG และ NGV (CNG) มีลักษณะและขั้นตอนใกล้เคียงกัน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการตรวจเช็คได้ทั้งสองแบบ บางอย่างท่านผู้ใช้รถสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ แต่หากรู้สึกว่ายุ่งยากและไม่สะดวก ควรให้ร้านหนือบริษัทที่รับติดตั้งตรวจสอบให้ตามกำหนดเวลาหรือตามคู่มือการใช้งานจะเป็นการดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น